
ต้องบอกว่าในปัจจุบันนั้น หลายคนเริ่มให้ความสนใจกับการมองหาความคุ้มครอง รวมไปถึงหลักประกันต่างๆ ซึ่งถ้ามองภาพในยุคปัจจุบันเป็นเรื่องที่เรานั้นก็ไม่ควรจะมองข้ามไป โดยเฉพาะในเรื่องของหลักประกันสุขภาพ อุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยต่างๆ รวมไปถึงสิทธิประโยชน์ที่เรานั้นควรจะได้รับด้วย
ซึ่งปัจจุบัน ภาครัฐของไทยนั้น ก็ได้มีการมอบ ประกันสังคม ให้กับประชาชน ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการจากทางภาครัฐ โดยผู้ประกันตนนั้นก็สามารถที่จะรับ สิทธิประกันสังคมได้ โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน อย่างที่หลายคนเคยได้ยินกันมา ได้แก่ มาตรา 33, มาตรา 39 และมาตรา 40 ซึ่งผู้ประกันตนนั้นสามารถที่จะเลือกชำระเงินทุกเดือนได้เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ที่ตนเองนั้นควรจะได้รับเพราะการใช้ชีวิตของเราทุกวันนี้นั้นมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ปัจจุบันนั้นยังมีข้อสงสัย ถึงความแตกต่างของ ประกันสังคม ในมาตรา 39 และมาตรา40 ว่ามีข้อแตกต่างกันอย่างไร ผู้เขียนเองก็เชื่อว่าหลายๆท่านนั้นก็ยังมีความสงสัยกันอยู่ดังนั้น วันนี้ผู้เขียนจะทำการไขความสงสัยนี้ให้กับผู้อ่านเอง
โดยเราจะมาเริ่มกันที่ ประกันสังคม มาตรา 39
ซึ่งในส่วนนี้นั้นจะเป็นส่วนที่ผู้ประกันตนนั้นสมัครใจในการสมัคร โดยอาจจะเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาก่อน แล้วได้มีการลาออกจากงานที่ทำแล้วไม่อยากเสียสิทธิประกันสังคม เลยได้ทำการเปลี่ยนแปลง มาเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 นั้นเอง ซึ่งในส่วนนี้นั้นจะมีเงื่อนไขว่า จะต้องมีการส่งเงินสมทบมาแล้ว ไม่ต่ำกว่า 1 ปี หรือ 12 เดือน นั้นเอง และจะต้องมีการลาออกจากหน่วยงานมาไม่เกินกว่า 6 เดือน ที่สำคัญคือต้องไม่เป็นผู้ซึ่งรับผลประโยชน์ทนแทนในกรณีทุพพลภาพ จากกองทุนประกันสังคมอีกด้วย สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 นั้นหากได้เข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ตัวของ นายจ้างยังสามารถที่จะดำเนินการโดยทำการแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนให้แก่ลูกจ้างได้ภาย ใน 30 วันนับ โดยต้องนับแต่วันที่ได้มีการเข้าทำงานโดยผู้ประกันตนนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องไปดำเนินการลาออก จากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แต่อย่างใด
สิทธิประโยชน์ของมาตรา 39
กรณีเจ็บป่วยในรูปแบบปกติ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และยังมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาพยาบาลในประกันสังคม แต่ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือแม้กระทั่งการเจ็บป่วยฉุกเฉินนั้น ทางประกันสังคมจะมีหน้าที่เป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาล
ในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ ก็สามารถที่จะทำการฝากครรภ์และคลอดบุตรได้ในทุกโรงพยาบาล ยังรวมไปถึงการรวมถึงเบิกค่าคลอดได้ รวมถึงยังสามารถที่จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือเหมาจ่ายรายเดือน โดยจะได้ 600 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
ในกรณีที่เป็นผู้ทุพพลภาพ ค่ารักษาพยาบาลนั้น สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลของรัฐได้ฟรี
เมื่อผู้ประกันตนนั้นอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือ ชราภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จหรือเงินบำนาญ โดยจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่ประกันสังคมกำหนดเอาไว้ และหากเสียชีวิตก็จะได้รับเงินสงเคราะห์ โดยจะมีการแบ่งเป็นเงินค่าทำศพรวมไปถึงเงินสงเคราะห์ตามเงื่อนไขที่ประกันสังคมกำหนด
ประกันสังคมมาตรา 40
คือ สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงาน ฟรีแลนซ์ พ่อค้าแม่ค้า นักดนตรี หรือผู้ที่ทำงานรับจ้างไม่เป็นหลักแหล่งนั้นเอง โดยมีทางเลือกสิทธิประโยชน์รวมไปถึงการจ่ายเงินสบทบกองทุนประกันสังคม ถึง 3 ทางเลือกด้วยกันได้แก่
ทางเลือกที่ 1
ต้องมีการจ่ายเงิน 70 บาท ต่อเดือน เพื่อรับสิทธิประโยชน์ 3 อย่าง คือ เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเกิดมีการเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้ในกรณีที่ผู้ประกันตนทุพพลภาพ ในกรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต หรือค่าทำศพ นั้นเอง
ทางเลือกที่ 2
ต้องมีการจ่ายเงิน 100 บาท ต่อเดือน เพื่อรับสิทธิประโยชน์ 4 อย่าง คือ เหมือนทางเลือกที่ 1 ทุกประการเว้นแต่ว่าจะมีเงินบำเหน็จในกรณีชราภาพเข้ามานั้นเอง
ทางเลือกที่ 3
จ่ายเงิน 300 บาท ต่อเดือน เพื่อรับสิทธิประโยชน์ 5 อย่าง คือ เหมือนทางเลือกที่ 2 ทุกประการแต่จะมีเพิ่มเข้ามาในส่วนของเงินสงเคราะห์บุตร นั้นเอง
สรุปความแตกต่าง ของประกันสังคมมาตรา 39 และ 40
ประกันสังคมมาตรา 39 นั้นเหมาะสำหรับผู้ที่เคยทำงานประจำหรือว่าเคยเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาก่อนนั้นเอง เมื่อออกจากงานแล้วยังมีความต้องการคงสถานะความคุ้มครองประกันสังคมเอาไว้
ส่วน ประกันสังคม มาตรา 40 นั้นเหมาะกับผู้ประกอบ ที่มีอาชีพอิสระ หรือแรงงานรับจ้างทั่วไป ซึ่งจะไม่เคยเคยทำประกันสังคมมาก่อนแต่ก็มีความต้องการได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จากสำนักงานประกันสังคมตามเงินสบทบที่ตนเองนั้นได้เลือกจ่ายนั้นเอง